วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การออกใบอนุญาต 3G เพื่อเลิกแนวความคิดของระบบสัญญาสัมปทาน

โดย : ดร. นที ศุกลรัตน์ @ Twitter

(1) ผมนั่งคิดถึงเหตุผลของความจำเป็นในการออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 3G ในครั้งนี้ ว่ามีความสำคัญต่อประเทศไทยมากแค่ไหน?
(2) ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะต้องมาเป็น กทช. และต้องมาขับเคลื่อนการออกใบอนุญาต 3G ที่จะส่งผลต่อประชาชนคนไทย และประเทศของเรามากขนาดนี้

(3) การออกใบอนุญาต 3G ในครั้งนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาตตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) แนวความคิดของระบบสัญญาสัมปทานเป็นเรื่องในอดีตที่รัฐเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมีรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยตรง
(5) ดังนั้นในระบบสัญญาสัมปทาน การอนุญาตให้ภาคเอกชนลงทุนประกอบกิจการแทนหน่วยงานของรัฐโดยมีการแบ่งรายได้ ให้กับหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน
(6) การแบ่งปันรายได้เกิดจากการแลกกับการดำเนินการแทนหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ให้บริการโทรคมนาคมในลักษณะที่ผูกขาดการดำเนินงาน
(7) การเปลี่ยนจากสัมทานเป็นใบอนุญาตเป็นไปตามเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ ที่กิจการโทรคมนาคมเป็นสาธารณูปโภค รัฐที่ไม่แสวงหารายได้โดยตรง
(8) การมีระบบโทรคมนาคมที่ดีจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกภาคส่วน เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย เป็นประโยชน์ของรัฐโดยทางอ้อม
(9) ระบบใบอนุญาต กทช. เป็นผู้ดำเนินการในฐานะองค์กรกำกับดูแล จึงไม่ลักหลั่นเหมือนในอดีตที่ผู้กำกับดูแลเป็นคู่แข่งกับเอกชนที่ถูกกำกับ ดูแล
(10) กทช. เก็บค่าใบอนุญาตจากผู้ประกอบกิจการเท่าที่จำเป็นในการกำกับดูแลเท่านั้น ปัจจุบันเก็บที่ 2% จากรายได้จากเดิมที่เคยเก็บที่ 3% ของรายได้
(11) การเก็บค่าใบอนุญาตของ กทช. จะต้องมีที่มาที่ไปอย่างชัดเจนในการใช้เป็นต้นทุนในการกำกับดูแลเท่านั้น มิใช่จะตั้งราคาเก็บได้ตามใจชอบ
(12) นอกจากการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของรัฐ แล้วการออกใบอนุญาต 3G ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานครั้งสำคัญของระบบโทรคมนาคม
(13) การคิดว่าโครงข่าย 3G เป็นเพียงโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมุ่งให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่นเดียวกับ 2G เป็นการเข้าใจและสำคัญผิดอย่างยิ่ง
(14) ความเห็นผม 3G ในประเทศไทย เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อให้บริการ Wireless Broadband หรือ Wireless BB) หรือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย
(15) เนื่องจากเรามีโครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรศัพท์ประจำที่ (Fixed Line) ไม่ทั่วถึง น้อยกว่า 5 ล้านเลขหมาย หรือ น้อยกว่า 10% ของประชากร
(16) การขยายโครงข่ายที่ผ่านมาค่อนข้างน้อยจนแทบจะไม่มีเลยในห้วงที่ผ่านมา 4-5 ปี ทำให้การขยายการให้บริการบรอดแบนด์ในบ้านเราขยายไมม่ออกไปด้วย
(17) การขยายการให้บริการบรอดแบรนด์โดยปกติจะไปกับโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานด้วย เทคโนโลยี ADSL ซึ่งปัจจุบันมีคนไทย ประมาณ 3 % ใช้บริการอยู่
(18) คนไทย 3% ใช้บริการ ADSL ขณะที่โครงข่ายโทรศัพท์บ้านคลอบคลุมได้เพียง 10% ของคนไทยทั้งประเทศดู จะขยายให้คนใช้บริการสูงกว่านี้เป็นไปได้ยาก
(19) วิธีการแก้ปัญหาในระยะสั้นให้จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มขึ้น ของประเทศไทย ก็คือการให้บริการผ่านโครงข่ายเทคโนโลยีไร้สาย 3G
(20) การขยายสถานีฐานของระบบแต่ละครั้งหมายถึงคนไทยจะสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายเพิ่มขึ้นอีกจำนวนนับพันคน
(21) ข้อกำหนดการสร้างโครงข่ายในการออกใบอนุญาต 3G ทำให้คนไทยมากกว่า 80% สามารถเข้าถึงการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายภายใน 2-4 ปี
(22) เราหวังว่าจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะเพิ่มจาก 3% เป็น 20-25% ภายในระยะเวลาที่ไม่นานนัก เร็วกว่าการขยายผ่านโทรศัพท์พื้นฐานมาก
(23) ศักยภาพของประเทศไทย ด้าน ICT มีความเข้มแข็งมากเท่าไหร่ ไม่ได้ดูที่จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่เป็นจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์
(24) โครงข่ายเทคโนโลยี 3G จะเป็นเหมือนถนนเส้นใหญ่ของข้อมูลข่าวสาร จากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาค จากเมืองใหญ่ไปเมืองเล็ก จากในเมืองไปสู่ชนบท
(25) การที่ประชาชนทั้งประเทศได้รับข้อมูลข่าวสารที่ใกล้เคียงกัน ก็จะทำให้มีฐานความคิดที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลต่อการพัฒนาในทุกๆด้านของประเทศครับ

1 ความคิดเห็น: