วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ทำไมต้อง 3G แล้วคนไทยได้อะไรจาก 3G

 โดย : ดร. นที ศุกลรัตน์ @ Twitter

(1) จาก TL ที่ผมนำเสนอเช้าวันนี้ มีคำถามว่าการออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3G ส่งผลต่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศไทย จริงหรือไม่ อย่างไร?
(2) ผมอยากเรียนว่าถ้าเรามอง 3G เป็นการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เราจะไม่เห็นความจำเป็น และความสำคัญของการออกใบอนุญาต 3G ในครั้งนี้เลย
(3) เนื่องจากการบริการ 2G ในปัจจุบันก็มีคุณภาพดีเพียงพอ ราคาเหมาะสม และทั่วถึง ที่จะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันเป็นอย่างดี
 (4) ถ้าเรามองว่า 3G คือ การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย (Wireless Broadband) นั่นคือความแตกต่าง คือความสำคัญของการออกใบอนุญาต 3G
(5) การพัฒนาระบบโทรคมนาคมสำหรับประเทศไทยนั้น ยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเร่งด่วนที่สุดวันนี้ก็คือ การขยายการให้บริการบรอดแบนด์ให้ทั่วถึงมากที่สุด
(6) บรอดแบนด์จะเป็นถนนสายหลักเป็นระบบขนส่งที่จะนำเนื้อหา หรือ Content ในรูปแบบต่างๆ ไปสู่ผู้ประชาชนคนไทยทั่วประเทศโดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด
(7) บรอดแบนด์ใช้ 3 เทคโนโลยีที่สำคัญ คือ (1) ผ่านใยแก้วนำแสง (2) ผ่านคู่สายทองแดง ของโทรศัพท์พื้นฐาน และ (3) ระบบไร้สายโดยใช้คลื่นความถี่
(8) เทคโนโลยีที่ใช้แตกต่างกัน ผ่านใยแก้วนำแสง ด้วย FTTH ในขณะผ่านคู่สายทองแดงโทรศัพท์บ้าน ด้วย ADSL และ ใช้คลื่นความถี่ ด้วย 3G หรือ WiMAX
(9) เทคโนโลยีที่ดีที่สุดสำหรับการให้บริการบรอดแบนด์ในวันนี้ คือ เทคโนโลยี Fiber to the Home (FTTH) ผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง
(10) เทคโนโลยีรองลงมาสำหรับการให้บริการบรอดแบนด์คือ ผ่านคู่สายทองแดงที่ไปถึงบ้านของผู้ใช้ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ด้วยเทคโนโลยี ADSL
(11) ในการบริการบรอดแบนด์ การใช้คลื่นความถี่ด้วยเทคโนโลยี 3G หรือ WiMAX มีคุณภาพการบริการและความเร็วต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับ FTTH และ ADSL
(12) แม้จะด้อยกว่าแต่จุดแข็งของ 3G ก็คือ ต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก และขีดความสามารถในการให้บริการทุกที่ ทุกเวลา เช่นเดียวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่
(13) การให้บริการบรอดแบนด์ผ่านใยแก้วนำแสง ด้วยเทคโนโลยี FTTH แม้จะดีที่สุดในวันนี้ แต่ต้นทุนการให้บริการยังคงแพงมากเมื่อเทียบกับรายได้คนไทย
(14) การนำ FTTH มาใช้อาจต้องรอเวลาให้ราคาถูกลง หรือมีการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐอย่างจริงจัง และคงให้บริการได้เฉพาะในเขตเมืองใหญ่
(15) การขยายการให้บริการบรอดแบนด์ ADSL ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์บ้านเป็นสิ่งที่นิยมกันโดยทั่วไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อนการพัฒนาไปสู่ FTTH
(16) น่าเสียดายที่โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานในห้วงเวลาที่ผ่านมาของประเทศไทยยัง คลอบคลุมน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่และประชากรของประเทศ
(17) ในปัจจุบันโทรศัพท์พื้นฐานคลอบเพียงประมาณร้อยละ 10 ของประชากรของประเทศ และมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ใช้บริการบรอดแบน์ด้วย ADSL
(18) บมจ.ทีโอที ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์รายใหญ่ที่สุดของประเทศเพิ่งประกาศฉลองการให้ บริการบรอดแบนด์ 1 ล้านพอร์ตไป เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา
(19) การขยายโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นสิ่งที่ค่อนข้างช้าเนื่องจากการเพิ่มแต่ ละหมายเลขจะต้องวางคู่สายทองแดง 1 คู่สายไปยังบ้านของผู้ใช้
(20) การแก้ปัญหาระยะสั้นเพื่อให้การให้บริการบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีที่ดี เร็ว และราคาถูกที่สุด คือการขยายผ่านโครงข่ายแบบไร้สาย
(21) 3G เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้อุดช่องว่างได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของการมีโครงข่ายหลัก (Backbone) และโครงข่ายบริการ (Access Networks) ที่ดี
(22) การสร้างสถานีฐานแต่ละสถานีของ 3G จะสามารถให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายแก่คนไทยได้นับพันคน ต่างจากการเพิ่มด้วย ADSL ที่ละคนทีละบ้าน
(23) ดังนั้นการขยายจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ในประเทศไทยในระยะสั้นให้มากที่ สุดจำเป็นต้องทำโดยการสนับสนุนให้มีการออกใบอนุญาต 3G และ WiMAX
(24) จากนั้นต้องมีมาตรการส่งเสริมสนับสนุนให้เพิ่มการบริการด้วย FTTH ผ่านใยแก้วนำแสง ในเขตเมืองใหญ่ และ ADSL เขตชานเมือง ในระยะกลางและระยะยาว
(25) ความสำคัญสูงสุดของบรอดแบนด์ คือ เป็นถนนเส้นใหญ่ที่จะนำข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่างๆ ไปถึงคนไทย ทำให้ทุกคนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ใกล้เคียงกัน
(26) เมื่อมีถนนเส้นบรอดแบนด์ การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ผ่านถนนเส้นนี้จะง่ายขึ้น นำประเทศของเราเข้าสู่สังคมข้อมูลข่าวสารและสังคมอุดมปัญญาครับ                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น