วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การออกใบอนุญาต 3G เพื่อเลิกแนวความคิดของระบบสัญญาสัมปทาน

โดย : ดร. นที ศุกลรัตน์ @ Twitter

(1) ผมนั่งคิดถึงเหตุผลของความจำเป็นในการออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 3G ในครั้งนี้ ว่ามีความสำคัญต่อประเทศไทยมากแค่ไหน?
(2) ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะต้องมาเป็น กทช. และต้องมาขับเคลื่อนการออกใบอนุญาต 3G ที่จะส่งผลต่อประชาชนคนไทย และประเทศของเรามากขนาดนี้

(3) การออกใบอนุญาต 3G ในครั้งนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาตตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(4) แนวความคิดของระบบสัญญาสัมปทานเป็นเรื่องในอดีตที่รัฐเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม และมีรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยตรง
(5) ดังนั้นในระบบสัญญาสัมปทาน การอนุญาตให้ภาคเอกชนลงทุนประกอบกิจการแทนหน่วยงานของรัฐโดยมีการแบ่งรายได้ ให้กับหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน
(6) การแบ่งปันรายได้เกิดจากการแลกกับการดำเนินการแทนหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ให้บริการโทรคมนาคมในลักษณะที่ผูกขาดการดำเนินงาน
(7) การเปลี่ยนจากสัมทานเป็นใบอนุญาตเป็นไปตามเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ ที่กิจการโทรคมนาคมเป็นสาธารณูปโภค รัฐที่ไม่แสวงหารายได้โดยตรง
(8) การมีระบบโทรคมนาคมที่ดีจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกภาคส่วน เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย เป็นประโยชน์ของรัฐโดยทางอ้อม
(9) ระบบใบอนุญาต กทช. เป็นผู้ดำเนินการในฐานะองค์กรกำกับดูแล จึงไม่ลักหลั่นเหมือนในอดีตที่ผู้กำกับดูแลเป็นคู่แข่งกับเอกชนที่ถูกกำกับ ดูแล
(10) กทช. เก็บค่าใบอนุญาตจากผู้ประกอบกิจการเท่าที่จำเป็นในการกำกับดูแลเท่านั้น ปัจจุบันเก็บที่ 2% จากรายได้จากเดิมที่เคยเก็บที่ 3% ของรายได้
(11) การเก็บค่าใบอนุญาตของ กทช. จะต้องมีที่มาที่ไปอย่างชัดเจนในการใช้เป็นต้นทุนในการกำกับดูแลเท่านั้น มิใช่จะตั้งราคาเก็บได้ตามใจชอบ
(12) นอกจากการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของรัฐ แล้วการออกใบอนุญาต 3G ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานครั้งสำคัญของระบบโทรคมนาคม
(13) การคิดว่าโครงข่าย 3G เป็นเพียงโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมุ่งให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่นเดียวกับ 2G เป็นการเข้าใจและสำคัญผิดอย่างยิ่ง
(14) ความเห็นผม 3G ในประเทศไทย เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อให้บริการ Wireless Broadband หรือ Wireless BB) หรือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สาย
(15) เนื่องจากเรามีโครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรศัพท์ประจำที่ (Fixed Line) ไม่ทั่วถึง น้อยกว่า 5 ล้านเลขหมาย หรือ น้อยกว่า 10% ของประชากร
(16) การขยายโครงข่ายที่ผ่านมาค่อนข้างน้อยจนแทบจะไม่มีเลยในห้วงที่ผ่านมา 4-5 ปี ทำให้การขยายการให้บริการบรอดแบนด์ในบ้านเราขยายไมม่ออกไปด้วย
(17) การขยายการให้บริการบรอดแบรนด์โดยปกติจะไปกับโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานด้วย เทคโนโลยี ADSL ซึ่งปัจจุบันมีคนไทย ประมาณ 3 % ใช้บริการอยู่
(18) คนไทย 3% ใช้บริการ ADSL ขณะที่โครงข่ายโทรศัพท์บ้านคลอบคลุมได้เพียง 10% ของคนไทยทั้งประเทศดู จะขยายให้คนใช้บริการสูงกว่านี้เป็นไปได้ยาก
(19) วิธีการแก้ปัญหาในระยะสั้นให้จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มขึ้น ของประเทศไทย ก็คือการให้บริการผ่านโครงข่ายเทคโนโลยีไร้สาย 3G
(20) การขยายสถานีฐานของระบบแต่ละครั้งหมายถึงคนไทยจะสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายเพิ่มขึ้นอีกจำนวนนับพันคน
(21) ข้อกำหนดการสร้างโครงข่ายในการออกใบอนุญาต 3G ทำให้คนไทยมากกว่า 80% สามารถเข้าถึงการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สายภายใน 2-4 ปี
(22) เราหวังว่าจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจะเพิ่มจาก 3% เป็น 20-25% ภายในระยะเวลาที่ไม่นานนัก เร็วกว่าการขยายผ่านโทรศัพท์พื้นฐานมาก
(23) ศักยภาพของประเทศไทย ด้าน ICT มีความเข้มแข็งมากเท่าไหร่ ไม่ได้ดูที่จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่เป็นจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์
(24) โครงข่ายเทคโนโลยี 3G จะเป็นเหมือนถนนเส้นใหญ่ของข้อมูลข่าวสาร จากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาค จากเมืองใหญ่ไปเมืองเล็ก จากในเมืองไปสู่ชนบท
(25) การที่ประชาชนทั้งประเทศได้รับข้อมูลข่าวสารที่ใกล้เคียงกัน ก็จะทำให้มีฐานความคิดที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลต่อการพัฒนาในทุกๆด้านของประเทศครับ

ทำไมต้อง 3G แล้วคนไทยได้อะไรจาก 3G

 โดย : ดร. นที ศุกลรัตน์ @ Twitter

(1) จาก TL ที่ผมนำเสนอเช้าวันนี้ มีคำถามว่าการออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3G ส่งผลต่อการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศไทย จริงหรือไม่ อย่างไร?
(2) ผมอยากเรียนว่าถ้าเรามอง 3G เป็นการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เราจะไม่เห็นความจำเป็น และความสำคัญของการออกใบอนุญาต 3G ในครั้งนี้เลย
(3) เนื่องจากการบริการ 2G ในปัจจุบันก็มีคุณภาพดีเพียงพอ ราคาเหมาะสม และทั่วถึง ที่จะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันเป็นอย่างดี
 (4) ถ้าเรามองว่า 3G คือ การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย (Wireless Broadband) นั่นคือความแตกต่าง คือความสำคัญของการออกใบอนุญาต 3G
(5) การพัฒนาระบบโทรคมนาคมสำหรับประเทศไทยนั้น ยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเร่งด่วนที่สุดวันนี้ก็คือ การขยายการให้บริการบรอดแบนด์ให้ทั่วถึงมากที่สุด
(6) บรอดแบนด์จะเป็นถนนสายหลักเป็นระบบขนส่งที่จะนำเนื้อหา หรือ Content ในรูปแบบต่างๆ ไปสู่ผู้ประชาชนคนไทยทั่วประเทศโดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด
(7) บรอดแบนด์ใช้ 3 เทคโนโลยีที่สำคัญ คือ (1) ผ่านใยแก้วนำแสง (2) ผ่านคู่สายทองแดง ของโทรศัพท์พื้นฐาน และ (3) ระบบไร้สายโดยใช้คลื่นความถี่
(8) เทคโนโลยีที่ใช้แตกต่างกัน ผ่านใยแก้วนำแสง ด้วย FTTH ในขณะผ่านคู่สายทองแดงโทรศัพท์บ้าน ด้วย ADSL และ ใช้คลื่นความถี่ ด้วย 3G หรือ WiMAX
(9) เทคโนโลยีที่ดีที่สุดสำหรับการให้บริการบรอดแบนด์ในวันนี้ คือ เทคโนโลยี Fiber to the Home (FTTH) ผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง
(10) เทคโนโลยีรองลงมาสำหรับการให้บริการบรอดแบนด์คือ ผ่านคู่สายทองแดงที่ไปถึงบ้านของผู้ใช้ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน ด้วยเทคโนโลยี ADSL
(11) ในการบริการบรอดแบนด์ การใช้คลื่นความถี่ด้วยเทคโนโลยี 3G หรือ WiMAX มีคุณภาพการบริการและความเร็วต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับ FTTH และ ADSL
(12) แม้จะด้อยกว่าแต่จุดแข็งของ 3G ก็คือ ต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก และขีดความสามารถในการให้บริการทุกที่ ทุกเวลา เช่นเดียวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่
(13) การให้บริการบรอดแบนด์ผ่านใยแก้วนำแสง ด้วยเทคโนโลยี FTTH แม้จะดีที่สุดในวันนี้ แต่ต้นทุนการให้บริการยังคงแพงมากเมื่อเทียบกับรายได้คนไทย
(14) การนำ FTTH มาใช้อาจต้องรอเวลาให้ราคาถูกลง หรือมีการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐอย่างจริงจัง และคงให้บริการได้เฉพาะในเขตเมืองใหญ่
(15) การขยายการให้บริการบรอดแบนด์ ADSL ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์บ้านเป็นสิ่งที่นิยมกันโดยทั่วไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก่อนการพัฒนาไปสู่ FTTH
(16) น่าเสียดายที่โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานในห้วงเวลาที่ผ่านมาของประเทศไทยยัง คลอบคลุมน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่และประชากรของประเทศ
(17) ในปัจจุบันโทรศัพท์พื้นฐานคลอบเพียงประมาณร้อยละ 10 ของประชากรของประเทศ และมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นที่ใช้บริการบรอดแบน์ด้วย ADSL
(18) บมจ.ทีโอที ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์รายใหญ่ที่สุดของประเทศเพิ่งประกาศฉลองการให้ บริการบรอดแบนด์ 1 ล้านพอร์ตไป เมื่อสองเดือนที่ผ่านมา
(19) การขยายโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเป็นสิ่งที่ค่อนข้างช้าเนื่องจากการเพิ่มแต่ ละหมายเลขจะต้องวางคู่สายทองแดง 1 คู่สายไปยังบ้านของผู้ใช้
(20) การแก้ปัญหาระยะสั้นเพื่อให้การให้บริการบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีที่ดี เร็ว และราคาถูกที่สุด คือการขยายผ่านโครงข่ายแบบไร้สาย
(21) 3G เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้อุดช่องว่างได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของการมีโครงข่ายหลัก (Backbone) และโครงข่ายบริการ (Access Networks) ที่ดี
(22) การสร้างสถานีฐานแต่ละสถานีของ 3G จะสามารถให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายแก่คนไทยได้นับพันคน ต่างจากการเพิ่มด้วย ADSL ที่ละคนทีละบ้าน
(23) ดังนั้นการขยายจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ในประเทศไทยในระยะสั้นให้มากที่ สุดจำเป็นต้องทำโดยการสนับสนุนให้มีการออกใบอนุญาต 3G และ WiMAX
(24) จากนั้นต้องมีมาตรการส่งเสริมสนับสนุนให้เพิ่มการบริการด้วย FTTH ผ่านใยแก้วนำแสง ในเขตเมืองใหญ่ และ ADSL เขตชานเมือง ในระยะกลางและระยะยาว
(25) ความสำคัญสูงสุดของบรอดแบนด์ คือ เป็นถนนเส้นใหญ่ที่จะนำข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่างๆ ไปถึงคนไทย ทำให้ทุกคนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ใกล้เคียงกัน
(26) เมื่อมีถนนเส้นบรอดแบนด์ การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ผ่านถนนเส้นนี้จะง่ายขึ้น นำประเทศของเราเข้าสู่สังคมข้อมูลข่าวสารและสังคมอุดมปัญญาครับ                      

ธุระกิจใหม่บนเครือข่าย 3.9G

โดย: ดร. นที ศุกลรัตน์ @ Twitter

(1) ประกาศ กทช. ว่าด้วยการออกใบอนุญาต 3G ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในกระบวนการออกใบอนุญาตครั้งนี้ มีแนวความคิดที่สำคัญประการหนึ่งคือการส่งเสริม MVNO
(2) MVNO = Mobile Virtual Networks Operator หมายถึง ผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง
(3) ดังนั้น MVNO จึงเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแต่อาศัยเช่าใช้จากผู้ที่มีโครงข่าย
(4) จากข้อจำกัดที่ความถี่่มีเพียง 45 MHz ทำให้สามารถออกใบอนุญาตได้เพียง 3 ใบ ซึ่งผู้ที่ชนะการประมูลจะเป็น MNO (Mobile Networks Operator)
(5) ดังนั้นสาระสำคัญของความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่าง MNO กับ MVNO ก็คือ MNO เป็นผู้ขายส่ง ในขณะที่ MVNO เป็นผู้ประกอบกิจการขายปลีก
(6) วัตถุประสงค์ในการออกใบอนุญาตในครั้งนี้ที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ เพิ่มการแข่งขัน อาจสำเร็จได้ด้วยการเพิ่มผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที
(7) คณะกรรมการ 3G จึงได้กำหนดให้ MNO ทั้ง 3 ราย จะต้องประกันขีดความสามารถในการให้บริการ (Capacity) สำหรับ MVNO อย่างน้อย 40%
(8) ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นนโยบายที่สำคัญมาก เนื่องจาก MNO จะต้องลงทุนจำนวนมาก คนไทยจำนวนน้อยมีขีดความสามารถลงทุนมหาศาลเป็น MNO ได้
(9) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการคนไทยที่ต้องการให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่แต่มีทุนไม่เพียงพอ กทช. จึงกำหนดให้มีการประกัน 40% ดังกล่าว
(10) ใน 40% อาจมี MVNO มากกว่า 1 ราย สาระสำคัญก็คือ การโอกาสของผู้ประกอบกิจการคนไทยรายเล็กและกลาง ได้มีโอกาสให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
(11) นอกจากผู้ประกอบกิจการทั่วไปแล้ว ยังมีคนไทยที่มีขีดความสามารถคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้บริการผ่านโครงข่าย จะสามารถใช้ช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย
(12) ประกาศกำหนดให้ MNO ไม่สามารถปฏิเสธการมาขอเป็น MVNO ของรายเล็กและรายกลางที่ต้องการได้ เว้นแต่มีผู้บริการ MVNO อยู่แล้วมากกว่า 40%
(13) MVNO มีหลายระดับจากต่ำสุดคือ Thin MVNO มีเฉพาะซิมขาย ถัดมาเป็น Medium MVNO นอกจากซิมแล้วยังมีระบบคิดเงินและอุปกรณ์หลักอื่นๆ
(14) ระดับสูงสุดจะเป็นรูปแบบที่เรียกว่า Full MVNO ซึ่งจะมีโครงสร้างเกือบทุกอย่างเช่นเดียวกับ MNO เว้นแต่ไม่มีคลื่นความถี่ใช้งานเป็นของตนเอง

(15) กทช. หวังว่าหลังจากออกใบอนุญาต 3G แล้วเราจะเห็น Thin MVNO จำนวนหลายรายพัฒนาไปเป็น Medium และ Full MVNO เมื่อเวลาผ่านไป 
(16) เราอยากจะเห็น Full MVNO พัฒนาไปเป็น MNO เมื่อเป็น 4G ในวันข้างหน้า จากการส่งเสริมดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาผู้ประกอบกิจการคนไทย
(17) นอกจากจะต้องให้โอกาสกับ MVNO แล้ว กทช. ยังต้องกำหนดราคาขายในลักษณะที่เป็นการขายส่งที่จะต้องไม่ทำให้ MVNO ไม่สามารถประกอบกิจการได้
(18) เรากำลังคิดราคาในลักษณะสัดส่วนของราคาขายปลีก ที่ MNO ให้บริการอยู่ เช่น อาจลดลงจากราคาขายปลีก 20-30% เป็นค่าการตลาดให้ MVNO
(19) การกำหนด MVNO เป็นช่องทางหนึ่งที่สร้างโอกาสให้กับคนไทยที่มีทุนน้อยแต่มีนวัตกรรมและ เพิ่มการแข่งขันเกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยรวมครับ

3.9G เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3

โดย:  ดร. นที ศุกลรัตน์

1. ทำไมต้อง 3.9G และความแตกต่างระหว่าง 3.9G และ 3G?
3.9G คือ เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G ความเร็วสูงสุดในการสื่อสารของ 3.9G คือ 42 Mbps ส่วนความเร็วสูงสุดของ 3G คือ 2 Mbps ดังนั้น 3.9G คือ เวอรชั่นล่าสุดของ 3G แต่มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณเร็วกว่าประมาณ 20 เท่า 3.9G จึงเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และจะมีการเริ่มให้บริการในเวลาเดียวกับประเทศญี่ปุ่น


2. ประโยชน์ในการใช้งานของ 3.9G?

เมื่อความเร็วในการส่งข้อมูลมากขึ้น ทำให้คุณภาพของบริการดีขึ้น เช่น
  • บริการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต (Mobile Broadband)ด้วยความเร็วสูงมากขึ้น
  • บริการมัลตืมีเดีย เช่น การส่งคลิปเสียง/คลิปวีดีโอ เล่นเกมส์ ดาวน์โหลดเพลงและรูปภาพ video conference และบริการในลักษณะของ triple play คือ การใช้โทรศัพท์ การใช้อินเตอร์เน็ต และการรับส่งข้อมูลอื่นได้พร้อมกัน นอกจากนี้ยังทำให้การรับชมรับฟัง Hi Density TV เป็น real time มากขึ้นและคมชัดมากขึ้น
  • นอกจากประโยชน์ที่เกิดในชีวิตประจำวันแล้ว ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ 3.9G คือ การเพิ่มโอกาสของการสื่อสารความเร็วสูงในพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการเข้า ถึงทางสาย เช่น พื้นที่ในส่งภูมิภาคของประเทศ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึเป็นช่องทางที่สำคัญในการกระจายข้อมูลข่าวสารและความ รู้สู่ประชาชน
3. ในมุมมองของผู้บริโภค การก้าวกระโดดจาก 2G เป็น 3.9G จะเกิดปัญหาอะไรหรือไม่?
  • 3.9G เป็นเทคโนโลยีเดียวกับ 3G ซึ่งจะสามารถรองรับเครื่องของลูกข่ายของ 3G และ 2G ได้ทั้งหมด
  • 3.9G จะมีประสิทธิภาพดีกว่า 3G และรองรับการรับ-ส่งสัญญาณที่มีคุณภาพและความเร็วที่สูงกว่า
4. เรื่องใบอนุญาต 3.9G มีรายละเอียดอย่างไร?
  • ใบอนุญาต 3.9G จะเป็นย่านความถี่ 2100 MHz
  • จะมีจำนวน 3 ใบอนุญาต และเน้นสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันซึ่งจะส่งเสริมให้มีผู้ประกอบกิจการ รายกลางและเล็กผ่าน”นโยบายส่งเสริมผู้ประกอบกิจการที่ไม่ต้องมีโครงข่ายเป็น ของตนเอง” (MVON)
  • มีการส่งเสริมในเรื่องของการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure Sharing)
  • มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทส และการเปลี่ยนผ่านจากระบบ 2G ไปสู่ 3.9G ในอนาคต
5. บริการ 3G ที่ TOT, AIS, DTAC, TRUEเปิดให้บริการอยู่ในขณะนี้คืออะไร แล้วถือว่าถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย?
  • กรณี 3G ของ TOT เป็นการบริหารบนคลื่นความถี่เดิมที่ TOTได้รับการจัดสรร
  • AIS ก็เป็นการอัพเกรดจาก 2G เดิมบนคลื่นความถี่ที่ได้รับจากสัญญาณสัมปทาน
  • DTAC และ TRUE เป็นการทดลองให้บริการ
6. ต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้ประเทศไทยมีการสื่อสาร 3.9G อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรมและเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค?
  • คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย สิ่งที่ทำได้ในขณะนี้เป็นสิ่งที่เร็วที่สุดเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการต่อ ประชาช
  • ดังนั้น กทช. ต้องออกประกาศการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G and beyond มีหลักเกณฑ์ 2 ส่วนคือ
    1. ที่เกี่ยวกับการพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่
    2. ที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
7. อุปสรรคในการทำงาน?
  • อุปสรรคก็คงมีอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ กทช.เสนอก็เพื่อให้สังคมเข้าใจตรงกัน ดังนั้นการทำงานจะหมดอุปสรรคก็ต่อเมื่อทุกคนเห็นชอบตรงกัน หรือการทำงานจะผ่านพ้นไปได้ถ้าทุกคนเข้าใจว่าการดำเนินการเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง

3.9G Thailand Human D.N.A. Expo น่าสนใจอย่างไร

โดย : ดร. นที ศุกลรัตน์ @ Twitter

(1) หลาย ท่านสอบถามว่าจัดงาน “3.9G Thailand Human D.N.A. Expo” ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 8-12 ก.ย. นี้ ทำไม? มีอะไรที่น่าสนใจในงานบ้าง
(2)แรง บันดาลใจในการจัดงานนิทรรศการในครั้งนี้เนื่องมาจากผลการสำรวจว่าคนไทย 54% ทราบว่า 3G คืออะไร และ 72% ที่ทราบต้องการใช้เทคโนโลยี 3G
(3) มีคนไทยเกือบ 50% ไม่ทราบว่า 3G คืออะไร ซึ่ง คณะกรรมการ 3G ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการส่งผ่านข้อมูล โดยการอธิบายในรูปแบบต่างๆ ตามลำดับ
(4) การอธิบายผ่านสื่อในหลากหลายรูปแบบทำให้เกิดความเข้าใจในระดับหนึ่ง แต่การได้รับฟัง หรือการอ่านจากเอกสารก็ย่อมสู้ประสบการณ์จริงไม่ได้
(5) เป็นที่มาของการจัดงานนิทรรศการในครั้งนี้ โดยมีแนวความคิดที่สำคัญในการจัดงาน คือ 3.9G Thailand Human D.N.A. หรือ “3.9G โครงข่ายใยชีวิต”
(6) D.= Devices หรือ อุปกรณ์ที่ทุกคนใช้งาน N.=Networks หรือ โครงข่าย 3.9G และ A.=Applications หรือ บริการต่างๆ ที่จะให้บริการบนโครงข่าย 3.9G
(7) นิทรรศการคลอบคลุมทั้งสามส่วนสำคัญของ 3.9G ที่จะนำมาแสดงในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่เราคนไทยทุกคนจะได้มีโอกาสได้สัมผัสและทดลองใช้งาน
(8) เป็นครั้งแรกที่อนุญาตให้เอกชน ทดลองใช้คลื่นความถี่หลักสำหรับบริการ 3G ที่ย่าน 2.1 GHz ที่จะนำมาประมูลออกใบอนุญาตใช้งานจริงใน 20 ก.ย.53
(10) นิทรรศการในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กทช. กับ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 รายของประเทศ คือ AIS/DTAC/TRUE MOVE/TOT/CAT
(10) นอกจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยังมีผู้เข้าร่วมอื่นๆ เช่น หน่วยงานศึกษา วิจัย บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ สมาคม Thai e-Commerce เป็นต้น
(11) ในวันแถลงข่าว AIS ได้ประกาศว่าจะนำ 3.9G มาให้คนไทยทุกคนได้สัมผัส DTAC บอกว่าจะนำบริการในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอนมาแสดง
(12) TRUE MOVE เจ้าของวลี “ชีวิต Convergence” จะนำบริการในรูปแบบ Applications ต่างๆ มาแสดงถึงชีวิตในยุคหลอมรวมสื่อ หลัง 3.9G ให้ทุกคนดู
(13) TOT 3G และ CAT บอกว่าไม่ได้พูดอย่างเดียว แต่จะนำขีดความสามารถ 3G จริงๆ ที่ทั้งสององค์กรให้บริการอยู่มาแสดงให้ทุกคนได้ดู ไม่ได้โม้
(14) ในวันแถลงข่าวพิธีกรพยายามถามสิ่งที่จะนำมาแสดง แต่ทุกรายบอกว่าเป็นความลับ แต่จะไม่ยอมอีกฝ่ายเป็นอันขาด ทั้งงาน Expo และประมูลแพ้ไม่ได้
(15) นอกจากผู้ให้บริการทั้ง 5 แล้วยังมีผู้ผลิตอุปกรณ์ เช่น Huawei และ ZTE ผู้ให้บริการเสริมผ่านโครงข่าย เช่น GMM และ MCOT มาร่วมด้วย
(16) กทช. ได้เชิญสมาคม THAI e-Commerce มาร่วมแสดงบริการต่างๆ ผ่านโครงข่าย 3.9G พร้อมทั้งสถาบันการศึกษา และ TRIDI มาแสดงผลงานการวิจัยของคนไทย
(17) มีการเชิญผู้นำ Social Media ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากมาพูดคุยกับ Followers และมีการจัดห้องสัมนาวิชาการทั้งระดับสากลและสำหรับบุคคลทั่วไป
(18) นอกจากการเข้าร่วมชมกิจกรรมในงานที่ศูนย์ประชุมแล้ว ยังมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม และผ่านทางเว็บไซด์ www.39GThailand.com
(19) การถ่ายทอดสดทั้งสองช่องทางก็เพื่อให้ผู้สนใจที่ไม่มีโอกาสเข้ามาร่วมงานที่ กทม. ได้มีโอกาสติดตามและร่วมกิจกรรมในงานนิทรรศการอีกด้วย
(20) ผมคิดว่าการจัด 3.9G Thailand Human D.N.A. ก็เป็นอีกความพยายามของ กทช. ที่จะทำให้ทุกคนเห็นว่า 3.9G มีความสำคัญอย่างไรต่อชีวิตคนไทยทุกคน
(21) เชิญทุกท่านร่วมกัน เข้าสู่ยุค 3.9G ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ใน 8-12 กันยายน 2553 พร้อมกันนะครับ

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เพื่อนธรรม ขอบคุณ ยามเช้า 17 Jun 2010

ป ฏิ บั ติ ส ม่ำ เ ส ม อ
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
http://kicen/index.php?option=com_content&view=article&id=796:feng-feng&catid=49:dharma-column-&Itemid=87

บางคนคิดว่า การปฏิบัติกรรมฐานคือ
การเดินจงกรมและนั่งสมาธิเท่านั้น

แต่หลวงพ่อเน้นว่าการปฏิบัติอยู่ที่สติมากกว่าที่อิริยาบถ

อย่างที่ท่านเทศน์ในตอนหนึ่งว่า

“ไม่ใช่เดินเพียร นั่งเพียร แต่รู้เพียร”

คือ ฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมทุกอิริยาบถ
ไม่ใช่เฉพาะเวลานั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมเท่านั้นเคล็ดลับของท่านก็คือ

ปฏิบัติเรื่อยไปอย่างสม่ำเสมอ
ไม่เคร่งเกินไป แต่ก็ไม่หย่อน
ให้พอดีแก่การขัดเกลากิเลส
จึงจะเรียกว่า เป็นสัมมาปฏิปทา เพราะว่า

“การทำความเพียร ไม่ได้ขีดขั้น
จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ได้ทั้งหมดนั้น
แม้กวาดลานวัดอยู่ก็บรรลุธรรมะได้
แม้แต่เพียงมองเห็นแสงพยับแดดเท่านั้น ก็บรรลุธรรมะได้

จะต้องมีสติพร้อมอยู่เสมอ
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
เพราะมันมีโอกาสที่จะบรรลุธรรมอยู่ตลอดเวลา
อยู่ทุกสถานที่ เมื่อเราตั้งใจพิจารณาอยู่”

นี่คือปฏิปทาในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ใช่ทำเป็นเวลา แต่ต้องทำตลอดเวลา
อย่างที่หลวงพ่อท่านเรียกว่า “สติจำกาล”
ปฏิปทาที่ไม่ติดต่อสม่ำเสมอนั้นหลวงพ่อเปรียบเทียบว่า

“เหมือนหยดน้ำที่ไม่ต่อเนื่องกัน”

“น้ำที่เราหยดลงไปอย่างนี้ หยดห่าง ๆ ปั๊บ...ปั๊บ...ปั๊บ...
ถ้าเราเร่งความเร็วขึ้นหยดน้ำก็ถี่เข้า ๆ ปั๊บ...ปั๊บ...ปั๊บ...
เร่งขึ้นไปอีก มันก็ติดกันไหลเป็นสาย

สติของผู้ปฏิบัติที่ยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่สม่ำเสมอ
ก็เหมือนหยดน้ำที่ยังไม่ต่อเนื่องกัน มันก็เป็นวรรคเป็นตอน
แต่ถ้าเราเร่งให้น้ำไหลเร็วขึ้น หยดน้ำก็หายไป กลายเป็นสายน้ำ

การฝึกสติของเราก็เช่นเดียวกัน
นาน ๆ นึกขึ้นได้ก็ตั้งสติเสียทีหนึ่ง
เราก็จะมีสติที่ขาดเป็นช่วง ๆ เหมือนหยดน้ำ

ถ้าเราพยายามระลึกรู้อยู่เสมอ
มีสติในทุกการที่ทำ คำที่พูด และความรู้สึกนึกคิด
เราก็จะเป็นผู้มีสติตลอดเวลา ไม่เผลอ
เหมือนหยดน้ำที่ต่อกันเป็นสายน้ำ”


(ที่มา : ธรรมอุปมา -พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) )



วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการ Android

ทำความรู้จักกับระบบปฏิบัติการ Android

ระบบปฏิบัติการ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานคุณสมบัติทั้งหมดของอุปกรณ์ อิเลคทรอนิคส์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์ ก่อนหน้านี้คนไทยอาจจะเคยได้ยินชื่อ Symbian / Windows Mobile / Linux แต่ไม่นานมานี้ ระบบปฏิบัติการในโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่อย่าง Android (แอนดรอยด์) ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น และเริ่มใช้งานในเชิงพาณิชย์หรือมีวางจำหน่ายให้กับลูกค้าเมื่อปลายปี 2551

Android OS ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์

Android (แอนดรอยด์) มีพื้นฐานการทำงานมาจาก ระบบปฏิบัติการ Linux ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทที่ใช้ชื่อว่า แอนดรอยด์ แล้วถูกนำมาพัฒนาต่อยอดโดย กูเกิ้ล พร้อมด้วยความร่วมมือจากบริษัทต่างๆ รวมไปถึง ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ มากกว่า 30 ราย Android เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ปีต่อมาจึงนำไปใส่ในโทรศัพท์มือถือพร้อมออกวางจำหน่ายให้กับลูกค้า ได้ยลโฉมระบบปฏิบัติการใหม่ในปี พ.ศ. 2551 สิ่งที่ทำให้ Android ได้รับความสนใจจากบริษัทผลิตโทรศัพท์มือถือรวมไปถึงลูกค้า นั่นก็คือเรื่องลิขสิทธิ์นำ Android ไปใช้งาน จะอยู่ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี หรือ สามารถนำ Android ไปใช้งานได้ฟรี อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้โปรแกรมเมอร์หรือผู้พัฒนาโปรแกรม ได้ดาวน์โหลดชุด Software Develop Kit ไปพัฒนาโปรแกรมได้อย่างอิสระ ส่งผลให้ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ Android เข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมและเกมส์ต่างๆ ได้ฟรี (มีค่าบริการในบางโปแกรม)

การใช้งานเบื้องต้น

Android OS ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ Android OS ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์

หน้าจอหลัก แสดงผลได้ 3 หน้า แต่ละหน้าสามารถวางทางลัดหรือ Widget ได้อย่างอิสระ
เลื่อนดูหน้าถัดไปหรือหน้าที่แล้วได้โดยการลากนิ้วไปด้านข้าง

Android OS ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ Android OS ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์

เมื่อสัมผัสพื้นที่ว่างบนหน้าจอหลัก ก็จะมีเมนูขึ้นมาให้เลือกดีงทางลัดมาแสดง ใส่ Widget สร้างแฟ้มข้อมูล และ ตั้งค่ารูปภาพพื้นหลัง

Android OS ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ Android OS ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์

รูปภาพบนซ้าย แสดงฟังก์ชั่นต่างๆ หรือเมนูหลัก
รูปภาพบนขวา แสดงหน้าตาเบราเซอร์ สามารถขยายหรือเลื่อนหน้าเว็บได้อย่างรวดเร็ว

วีดีโอสาธิต การใช้งานเบราเซอร์

วีดีโอสาธิต การตั้งค่าหน้าจอหลัก

วีดีโอสาธิต การใช้งานหลายฟังก์ชั่นพร้อมกัน

วีดีโอแนะนำ Android เวอร์ชั่น 1.5

นอกจากจะเป็น ระบบปฏิบัติการในรูปแบบ ซอฟต์แวร์เสรี Android ยังมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน ตอบสนองลูกค้ากลุ่มใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือของ Google เว็บเบราเซอร์ โปรแกรมเอกสาร ออร์กาไนเซอร์ เครื่องเล่นมัลติมีเดีย ควบคุมการทำงานโดยอาศัยโทรศัพท์มือถือที่มีจอแสดงผลระบบสัมผัส ทำงานได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ตอบสนองคำสั่งได้อย่างรวดเร็ว

Android OS ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ แหล่งข้อมูล :
Android.com l Android Phone Community - ข้อมูลผู้ใช้ "แอนดรอยด์"
http://www.touchphoneview.com/press/android/android.htm